ดื่ม... พอหอมปากหอมคอ
Lifestyle
ดื่ม… พอหอมปากหอมคอ

ยอมรับเถอะ กรุงเทพฯคือหนึ่งในเมืองที่ปาร์ตี้หนักที่สุดในโลก!

เรามีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ที่อยากจะมาเที่ยว ผ่อนคลาย จิบเครื่องดื่มและปาร์ตี้ในประเทศไทย ในขณะที่การบริโภควิสกี้ภายในประเทศเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในสังคมไทย

จากข้อมูล ถึงแม้ว่าจำนวนการบริโภคไวน์ในประเทศไทยคิดเป็น 4% เมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์โดยรวมทั้งหมด แต่ผมคิดว่าตัวเลขดังกล่าวน่าสูงขึ้นกว่านี้ ถ้าเปรียบเทียบเฉพาะในกรุงเทพฯ ไม่รวมจังหวัดอื่นๆrose wine glass drinking

ตลอดช่วงเวลาที่ผมทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ผมได้มีโอกาสร่วมงานไวน์ดินเนอร์หลายครั้งหลายครา เมนูในงานส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยอาหารประมาณ 5-6 เมนู และก็ไวน์อีกประมาณ 4-5 ฉลาก สำหรับจิบคู่กับเมนูเหล่านั้น และที่สำคัญไวน์เหล่านั้นเติมได้ไม่อั้น นั่นทำให้บ่อยครั้ง ผมรู้สึกเมาเล็กน้อย ขณะที่ต้องรีบกลับมาเขียนบทบรรณาธิการเพื่อจัดส่งในตอนเช้า มันอาจฟังดูน่าสนุก แต่ก็ไม่ง่ายเอาเสียเลย

จากประสบการณ์เหล่านี้ ผมจึงได้ค้นพบเทคนิคดังต่อไปในนี้ ในการจิบไวน์เพื่อความสุนทรียิ่งขึ้น

เทคนิคแรก คือ ต้องรู้ความลับของไวน์… โดยธรรมชาติแล้ว ไวน์ประกอบด้วยสารเอสเตอร์(ester) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้แอลกอฮอล์เข้ารู้ระบบเลือดของเราช้าลง ในขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ อย่าง เบียร์, สปาร์กลิ้งไวน์ และวิสกี้กับโซดา จะเร่งให้แอลกอฮอล์เข้าสู่ระบบเลือดเร็วขึ้น สำนวนโบราณที่กล่าวไว้ว่า “จิบไวน์ให้ละเลียด จิบเหล้าเมาเร็ว” จึงน่าจะเป็นเรื่องจริง

ในงาmoderate wine drinking sunsetนไวน์ดินเนอร์ หากมีสปาร์กลิ้งไวน์ หรือแชมเปญให้คุณจิบก่อนรับประทานอาหาร ผมแนะนำให้จิบเพียงแก้วเดียว เพราะหากจิบมากกว่านั้น อาจทำให้คุณรู้สึกมึนๆงงๆก่อนเริ่มรับประทานอาหารก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม หากเราดื่มไวน์หลายแก้ว อาจส่งผลให้ร่างกาย รวมไปถึงอวัยวะที่ล้ำค่า อย่าง ตับ เสื่อมโทรมได้  โดยปรกติแล้ว ผมจะจิบไวน์เพียง 2 แก้วเคียงคู่ไปกับอาหารมื้อค่ำที่บ้าน และจะทานน้ำเปล่าควบคู่ไปด้วย เพราะว่าโดยธรรมชาติของสารแอลกอฮอล์จะเข้าไปซึมซับน้ำในร่างกายของเรา การดื่มน้ำตามจึงสามารถช่วยทดแทนปริมาณน้ำในร่างกายเหล่านั้นที่ถูกดูดซึมออกไป นอกจานี้ น้ำยังสามารถช่วยเข้าไปเจือจางสารแอลกอฮอล์ในร่างกายได้อีกด้วย

หลายคนใช้วิธีจิบกาแฟ เพราะหวังว่ากาแฟจะสามารถเข้าไปช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ได้ แต่ผู้เชียวชาญทางการแพทย์บางท่าน ได้กล่าวว่า สารคาเฟอีนไม่มีคุณสมบัติในการช่วยลดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้แต่อย่างใด หากแต่เพียงช่วยให้ร่างกายมีเวลาย่อยแอลกอฮอล์ในร่างกายได้นานขึ้นเท่านั้น

และเพื่อเป็นการปกป้องตับ ผมเลือกทานอาหารเสริม 2 ชนิด ชนิดแรกคือ Silymarin ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสามารถช่วยปกป้องตับได้ อีกชนิดคือ N-Acetyl-Cysteine ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงตับ อาหารเสริมทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถสั่งซื้อได้จากต่างประเทศ แต่ Silymarin มีขายแล้วในเมืองไทย

สุดท้ายนี้ ขอฝากไว้ว่า การจิบไวน์อย่างช้าๆไปกับเมนูอาหารที่ถูกฝาถูกตัว คือ เรื่องน่าอภิรมย์ของชีวิต แต่แน่นอน หากคุณดื่มมากเกินไป มันก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก

[เรียบเรียงจากบทความของ David Swartzentruber]