Wine n' About | รัมแห่งอ่าวฉลอง
New Profiles
รัมแห่งอ่าวฉลอง

มันเป็นช่วงเวลาบ่ายอากาศร้อนๆ ขณะที่พวกเรากำลังเอารถเข้าจอดที่ลานจอดของโรงกลั่นเหล้าฉลองเบย์ในจังหวัดภูเก็ต พวกเรารีบเดินหลบร้อนเข้าที่ลานรับรองที่ออกแบบเป็นตึกชั้นเดียว ตกแต่งแบบเรียบง่าย แต่ดูมีสไตล์ เพิ่มความโปร่งสบายโดยการประดับตกแต่งด้วยผ้าลินินสีขาว ด้านนอกรายล้อมไปด้วยต้นกล้วย และต้นอ้อย แลดูเป็นธรรมชาติ

Processed with VSCO with f2 preset

วันนี้เราจะได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ โดยมีคุณเนตเป็นคนพาเที่ยว ซึ่งขณะนั่งรอก่อนทัวร์จะเริ่มต้นขึ้นประมาณ 15 นาที ก็มีบริการเครื่องเย็นๆ เป็นค็อกเทลโมฮิโต้ 2 แก้ว ไว้จิบฆ่าเวลาไปเพลินๆ แน่นอนมันเป็นค็อกเทลที่มีเหล้ารัมที่ผลิตจากโรงกลั่นแห่งนี้เป็นส่วนผสม

เมื่อพูดถึงรสชาติของเหล้ารัมแล้ว หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมรัมขาวถึงเป็นสปิริตที่ได้รับความนิยมสูง? รัมสีขาวอาจจะไม่ใช่สปิริตตัวเอก แต่มันมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในค็อกเทลสูตรดังๆ ไม่ว่าจะเป็น โมฮิโต้,  ไดคิวรี, และ Cuba Libres เป็นต้น สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว รัมขาวอาจเป็นสปิริตที่ไร้กลิ่น ไร้รสชาติ เป็นแอลกอฮอล์เอธานอลประเภทหนึ่ง และมีข้อดีคือ สามารถช่วยเพิ่มความสดชื่นมีชีวิตชีวาให้กับเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่ทำให้รัมขาวของโรงกลั่นแห่งนี้ต่างจากที่อื่นๆ คือ กระบวนการผลิต เพราะรัมขาวโดยทั่วไปมักทำมาจากน้ำเชื่อม และส่วนที่เหลือจากการผลิตน้ำตาล ซึ่งมักให้รสชาติที่หวานแหลม ขาดคาแรคเตอร์ ในขณะที่รัมขาวของฉลองเบย์จะทำมาจากน้ำอ้อยสดๆ รสชาติที่ได้จึงมีความหวานนวล ซับซ้อน ซ่อนอะโรม่าของดอกไม้ไปด้วย

ตามที่ไกด์พาเที่ยวของเราบอก การนำน้ำอ้อย มาใช้แทนน้ำเชื่อม เป็นเทคนิคของชาวฝรั่งเศสในแถบทะเลแคริบเบียนในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งการทำเหล้ารัมสไตล์นี้ เรียกว่าเป็น Martinique เป็นสไตล์เหล้ารัมที่มักมีราคาสูง เนื่องจากมีกระบวนการทำที่ซับซ้อนกว่า แต่ให้รัมที่มีรสชาติอร่อยกว่า

การได้มาเที่ยวชมที่โรงกลั่นเหล้ารัมแห่งนี้ นอกจากเราจะได้เรียนรู้วิธีการทำรัมขาวแล้ว เรายังได้มีโอกาสเห็นทองแดงที่นำเข้าจากฝรั่งเศส รวมถึงเที่ยวชมโรงงานผลิตขวดของที่นี่อีกด้วย

Processed with VSCO with f2 preset

ต่อคำถามที่ว่า ทำไมเทคนิคการทำเหล้าสไตล์ Martinique ของฝรั่งเศสจึงมาโผล่ในทวีปเอเชียอย่างบ้านเรา? คุณเนต ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์เป็นแหล่งกำเนิดของอ้อย แต่ที่ชาวอเมริกันได้รู้จักกับพืชชนิดนี้เป็นเพราะชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ามาแนะนำให้รู้จัก ดังนั้น นี่จึงเป็นการหวนกลับมาสู่มาตุภูมิของพืชชนิดนี้อีกครั้งพร้อมกับเทคนิคการผลิตเหล้ารัมคุณภาพสูงสไตล์นี้

หลังจากได้เที่ยวชมโรงกลั่นเหล้าแห่งนี้เสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาชิม…

ที่ฉลองเบย์ รัม ดิสทิลเลอรี่ นอกจากจะผลิตรัมขาวที่เป็นสินค้าหลักของที่นี่แล้ว พวกเขายังทำเหล้ารัมอีก 3 รสชาติ ไว้เป็นตัวเลือกสำหรับนักดื่ม อีกด้วย ซึ่งประกอบด้วย เหล้ารัมรสใบโหระพา, อบเชย และตะไคร้

รสชาติของรัมขาวตัวออริจินอลของที่นี่ มีรสชาตินุ่ม มีความซับซ้อนในอะโรม่าและรสชาติ ในขณะที่รัมขาว 3 รสชาติที่กล่าวมา มีอะโรม่าที่แรงเข้มข้น แต่เมื่อนำมาผสมในเครื่องดื่มแล้ว อะโรม่าเหล่ากลับไม่ฟุ้งเข้มเท่าที่ควร

แต่ถึงกระนั้น โดยรวมแล้ว รัมขาวของฉลองเบย์ยังจัดว่าเป็นสปิริตรสเยี่ยมที่คู่ควรสำหรับการดื่มด่ำ และเป็นสินค้าที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทย เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เราได้เห็นเหล้ารัมไทยพัฒนาก้าวไกลไปอีกระดับ เราจึงขอเป็นกำลังใจให้กับฉลองเบย์ครับ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฉลองเบย์ รัม ดิสทิลเลอรี่ ได้ที่ http://www.chalongbayrum.com