Wine n' About | ซอมเมอลิเย่ร์: เดอะไวน์ฮีโร่
Wine n' Culture
ซอมเมอลิเย่ร์: เดอะไวน์ฮีโร่

ซอมเมอลิเย่ร์ กับเรื่องราวเบื้องหลังภาษาฝรั่งเศส คำนี้

นอกจากชื่อภาษาฝรั่งเศส ที่ฟังดูโก้เก๋แล้ว เคยสงสัยไหม ว่าจริงๆแล้ว “ซอมเมอลิเย่ร์” (Sommelier) พวกเขามีหน้าที่ทำอะไรกันแน่?

สำหรับคอไวน์แล้ว การได้จิบไวน์หลังเลิกงานในวันอันแสนเหนื่อยล้า คือ คำตอบสำหรับการผ่อนThai Sommelier removing wine corkคลาย… แต่ถ้าคุณหลงรักไวน์จนหัวปักหัวปำแล้วหละก็ การได้จิบไวน์ไปด้วย ทำงานไปด้วย อร่อยลิ้น แถมได้เงิน ก็คงเป็นอะไรน่าใฝ่ฝันไม่น้อย คุณอาจจะคิดเปิดร้านอาหาร เปิดไวน์บาร์ เป็นเจ้าของไร่องุ่น หรือโรงไวน์ และอาชีพหนึ่งที่พลาดไม่ได้ คือ “ซอมเมอลิเย่ร์” นั่นเอง!

โดยปรกติแล้ว ร้านอาหารที่มีซอมเมอลิเย่ร์ จะต้องเป็นร้านอาหารประเภท fine-dining โดยพวกเขามีบทบาทหลักๆ ในการสนทนากับลูกค้า คอยแนะนำไวน์ จับคู่ไวน์กับอาหารที่เหมาะสมให้แขกที่เข้ามารับประทานอาหาร แต่ไม่เพียงเท่านี้ พวกเขายังมีงานอื่นๆที่ยาก และเยอะกว่านั้นอีก

ซอมเมอลิเย่ร์ คือชื่อภาษาฝรั่งเศส ใช้เรียกผู้เชี่ยวชาญในเรื่องไวน์ที่มีคุณภาพ (fine wine) และเสิร์ฟไวน์ให้กับบุคคลในราชวงศ์ แต่เมื่อกล่าวในบริบทของสังคมยุคใหม่แล้ว งานของซอมเมอลิเย่ร์ คือ การให้บริการเรื่องไวน์ในร้านอาหารประเภท fine-dining โดยพวกเขาจะต้องมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับไวน์ สายพันธุ์องุ่นที่นำมาผลิตไวน์ชนิดต่างๆ รวมไปถึงแหล่งปลูกองุ่น ไร่องุ่นต่างๆ ตลอดจนเรตติ้ง และวินเทจของไวน์แต่ละขวด

ที่สำคัญ ซอมเมอลิเย่ร์จะต้องสามารถสร้างยอดขายเครื่องดื่ม และความพึงพอใจแก่ลูกค้าที่มาเยือนร้านอาหารได้อีกด้วย บางร้านอาหาร ตั้งชื่อตำแหน่งซอมเมอลิเย่ร์ว่า ”ผู้จัดการฝ่ายขายด้านเครื่องดื่ม”

Pinot gris Wine in Wine Glassนอกจากนี้ ซอมเมอลิเย่ร์ ยังมีหน้าที่ต้องออกแบบเมนูไวน์ให้กับร้านอาหาร ซึ่งมีความยาก และซับซ้อน เนื่องจากต้องพิจารณาเกณฑ์สำคัญต่างๆ เพื่อให้รายการไวน์ที่ออกมา ได้สมดุล สอดคล้องกับจำนวนเมนูอาหาร และประเภทของอาหารต่างๆที่เสิร์ฟภายในร้าน อีกทั้งยังต้องพิจารณาด้านงบของลูกค้าส่วนใหญ่ภายในร้านอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มกำไรให้กับร้านอาหาร และไม่ให้สินค้าต่างๆเกิดการค้างสต๊อกมากเกินควร

การออกแบบรายการไวน์ที่ดี ยังจำเป็นต้องมีเทคนิค และทำวิจัยอย่างต่อเนือง โดยบริษัทไวน์ และผู้จำหน่ายไวน์ต่างก็ต้องการที่จะให้ชื่อไวน์ของพวกเขา ปรากฏอยู่บนเมนูไวน์ของร้านอาหารดังๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างชื่อเสียง และทำให้ไวน์เหล่านั้นเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่บริโภค โดยบริษัทเหล่านี้ จะนำไวน์ตัวอย่างมาให้ซอมเมอลิเย่ร์ ได้ลองเทสต์ และคัดเลือก บางครั้ง พวกเขาต้องเทสต์ไวน์มากถึง 70 ฉลากต่อสัปดาห์เลยทีเดียว!

นอกจากงานเทสต์ไวน์แล้ว ซอมเมอลิเย่ร์ ยังต้องคอยยกลังไวน์ที่บริษัทไวน์ต่างๆRosé wine from Italy served at wine dinner in Bangkok Thailandนำมาส่ง เช็คสต๊อกตามรายการสั่งซื้อ จัดเรียงขวดไวน์ลงบนชั้นวาง โดยร้านอาหาร fine-dining บางร้านที่มีลูกค้าเยอะ อาจมีไวน์มาส่งมากถึง 30 ลังต่อ 1 สัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งทั้งหมดต้องใช้แรงกาย ยก หยิบ จับ จนกว่าไวน์จะขายได้ในที่สุด

ไม่หมดเท่านี้ ซอมเมอลิเย่ร์ยังต้องคอยฝึกอบรมพนักงานทุกคนที่ทำงานในส่วนหน้าของร้านอาหาร ในการเสิร์ฟไวน์ และขายไวน์ โดยทุกครั้งที่มีไวน์ฉลากใหม่เพิ่มเข้ามาในรายการไวน์ ซอมเมอลิเย่ร์จะต้องแนะนำข้อมูลของไวน์ขวดนั้นๆ ให้พนักงานเหล่านั้นได้รู้จัก ตลอดจนวิธีจับคู่กับเมนูอาหารต่างๆ และการอธิบายฉลากไวน์ให้กับลูกค้า ซึ่งรายการไวน์ส่วนใหญ่จะมีการเพิ่ม และลดอยู่เสมอ ซอมเมอลิเย่ร์จึงต้องคอยจัดการฝึกอบรมเรื่องนี้อยู่เสมอ

Thailand's Best Sommelier with Giulio Saverino as President of the Juryการมีพนักงานที่มีประสบการณ์ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาในแวดวงธุรกิจการให้บริการ ซึ่งคุณจะสามารถบอกได้เลยว่า พนักงานร้านอาหารแห่งไหนมีประสบการณ์มากน้อยเพียงใด โดยดูจากวิธีการที่พวกเขาอธิบายฉลากไวน์ และเสิร์ฟไวน์ให้กับคุณ

ถึงตอนนี้ คุณพอจะรู้แล้วว่า อาชีพซอมเมอลิเย่ร์ มีงานที่เยอะกว่าแค่ชื่อฝรั่งเศสเพราะๆ หรูๆ และถ้าจะให้เปรียบเทียบ พวกเขาจัดเป็นซุปเปอร์แมนแห่งวงการไวน์เลยทีเดียว