วิธีเก็บไวน์ใจกลางกรุงเทพฯ
Wine Basics
วิธีเก็บไวน์ใจกลางกรุงเทพฯ

คุณคิดว่า 3 อุปสรรคสำคัญในการเก็บไวน์มีอะไรบ้าง?

ศัwine cellarตรูตัวฉกาจของการเก็บไวน์ ประกอบด้วย อุณหภูมิที่ร้อน หรือเย็นเกินไป แม้แต่การเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว เช่น จากร้อนไปสู่เย็น หรือเย็นไปสู่ร้อน ก็มีผลเช่นกัน… ส่วนอีก 2 อุปสรรคที่เหลือ คือ ความสั่นสะเทือน และแสงแดด ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมห้องเก็บไวน์ส่วนใหญ่จึงอยู่ใต้ดิน เพราะไวน์ชอบอยู่ในที่ที่สงบ เย็นและมืด ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการบ่มไวน์ในขวด(maturation)

หากการต้องเก็บไวน์ไว้นานๆคือเรื่องจำเป็นสำหรับคุณ ผมแนะนำว่าคุณควรหาซื้Wine Fridge by Amazonอตู้เก็บไวน์เอาไว้สักเครื่อง แต่ถ้าคุณอาศัยอยู่ตามคอนโดแล้วหละก็ นี่ก็อาจจะเป็นเรื่องยากสักหน่อย เพราะห้องของคุณอาจมีเนื้อที่ไม่เพียงพอ อีกอย่าง คือ เรื่องค่าไฟที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ ตู้เก็บไวน์บางเครื่อง บางรุ่น ค่อนข้างมีเสียงดังเวลาทำงาน คุณจึงต้องเลือกให้ดีก่อนซื้อ เพื่อนของผมคนหนึ่ง เธอซื้อตู้เก็บไวน์ไว้แต่ไม่ได้ใช้ เพียงเพราะ “ไอ้เจ้าเครื่องบ้… ทำงานเสียงดังมาก!”

ที่สำคัญ หากคุณเป็นคนที่ย้ายที่อยู่บ่อยๆ การซื้อตู้เก็บไวน์อาจะไม่ใช่ความคิดที่ดี เพราะเมื่อถึงเวลาย้ายที่อยู่ คุณอาจจำเป็นต้องขายมันทิ้งในราคาที่ไม่คุ้มเอาเสียเลย ในปัจจุบัน มีตู้เก็บไวน์อย่างน้อย 4 เครื่อง วางขายตามร้านค้าในกรุงเทพฯ ในราคาตั้งแต่ 20,900 บาท จนถึง 17,500 บาท

อีกวิธีที่น่าสนใจ จากประสบการณ์ของผมเอง คือ ในช่วงปี 2003 บ้านของผมในกรุงเทพฯตอนนั้นมีตู้แบบ built-in อยู่ในห้องทานข้าว ซึ่งอยู่กลางบ้าน ดังนั้น จึงเป็นส่วนที่ค่อนข้างสงบ นิ่ง และปลอดจากเสียงรบกวนของรถที่วิ่งอยู่ภายในซอย อีกทั้งเป็นมุมที่ไม่ได้รับแสงแดด เพราะหันไปทางทิศเหนือ และทิศใต้

ผมใช้ตู้นั้นเก็บไวน์แดง และไวน์ขาวรวมกันประมาณ 2 ลัง หรือคิดเป็นประมาณ 24 ขวด โดยตลอดระยะเวลา 12 ปีที่เก็บ ผมไม่เคยเปิดไวน์ให้ออกมาสัมผัสออกซิเจนเลยสักขวด จนปัจจุบัน ผมมีไวน์ตั้งแต่ปี 2000 โดยทุกครั้งที่เช็คไวน์ ผมจะใช้ไฟฉายส่องดู และขวดที่ผมเลือกเปิดมาจิบเมื่อเร็วๆนี้ คือ La Tour de Mons ปี 2000

สำหรับนักสะสมที่เก็บไวwine vineyardsน์เป็นจำนวนมาก มักจะมีห้องสำหรับเก็บ หรือไม่ พวกเขามักใช้วิธีจ้างบริษัทที่มีบริการเก็บไวน์มาทำหน้านี่นั้นแทน

อีกเรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง ผมมีเพื่อนคนหนึ่งอาศัยในเมมฟิส เขาเลือกที่จะทำห้องใต้ดินสำหรับเก็บไวน์ไว้ในบ้าน โดยเขาสั่งให้คนงานขุดลึกลงไปใต้ดิน จนกว่าจะแตะระดับที่ห้องเก็บสามารถมีอุณหภูมิที่ 12.8 องศาเซลเซียส! เมื่อคนงานขุดลึกถึงระดับนั้น เขาแขวนปรอทวัดอุณหภูมิไว้กับเสา แล้วเรียกให้ผมมาดูเพื่อเป็นพยาน ทั้งๆที่บ้านยังสร้างไม่เสร็จด้วยซ้ำไป

อืม… บางทีคนรักไวน์ก็มีมุมแปลกๆ แต่น่าสนใจเหมือนกันนะครับ

[เรียบเรียงจากบทความของ David Swartzentruber]