จินจากที่ราบลุ่ม
Articles , New Profiles
จินจากที่ราบลุ่ม

ผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งในวงการโรงแรมของไทยเคยบอกผมว่า “จินเป็นเครื่องดื่มที่สามารถทำให้ จากคนใจดี กลายเป็นคนใจร้ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ” ซึ่งมันอาจฟังดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือสักเท่าไร เพราะเอาเข้าจริงแล้ว จินก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความคล้ายคลึงกับวอดก้า เพียงแต่มันมีรสชาติมากกว่าเท่านั้นเอง และหลายคนยังเชื่ออีกว่า จินนเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย (คือ จะไม่ทำเราเมา หลับ พับ ร่วง) ที่สุดแล้ว…

ความคิดแบบผิดๆนี้ น่าจะเกิดมาตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวอังกฤษนิยมดื่มจินกันอย่างคลั่งไคล้ โดยพวกเขาบริโภคจินหนักมาก จนทำให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย จนรัฐบาลต้องออกมาเริ่มทำการปราบปราม แต่ชาวอังกฤษน้อยคนที่จะรู้ว่า แท้จริงแล้ว ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการนำจินเข้ามาเผยแพร่ในอังกฤษ คือ ชาวเบลเยี่ยม และชาวดัตช์ต่างหาก

bols-jeneverในศตวรรษที่ 14th ได้มีการนำนวัตกรรมใหม่จากประเทศในแถบอาหรับ ที่มีชื่อว่า “al-inbiq” เข้ามาในยุโรป โดยสิ่งประประดิษฐ์นี้ มีลักษณะเป็นโละที่ใช้ในการกลั่น ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายมาเป็นเครื่องกลั่นเหล้าที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน โดยในสมัยนั้น นวัตกรรมชิ้นนี้ถูกนำมาใช้กลั่นน้ำซึ่งมีฤทธิ์เป็นยารักษาโรค ที่เขาเรียกว่า “aqua vitae” หรือในภาษาไทยแปลว่า “น้ำมอบชีวิต” วิธีใช้ คือ ใช้หยดเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ มันเป็นน้ำกลั่นมาจากเบียร์ และเครื่องดื่มประเภทหมักชนิดอื่นๆ และนำมาผสมกับ “juniper berry” ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยา ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มสรรพคุณให้มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานซึ่งเป็นข้อความในภาษาเฟลมมิช (ภาษาท้องถิ่นของชาวเมืองฟลานเดอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือของเบลเยียม) กล่าวไว้ว่า น้ำชนิดนี้ยังมีสรรพคุณในการช่วยให้ผู้ดื่มลืมความทุกข์ได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถทำให้รู้สึกร่าเริง และเพิ่มความกล้าหาญได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ต่อมา ผู้คนหันมาบริโภคในปริมาณที่มากขึ้นๆ

ต่อมา ชาวเมืองฟลานเดอร์เรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า “jenever” ในขณะที่ชาวดัตช์เรียกมันว่า จูนิเปอร์ แต่เมื่อชาวดัตช์นำมันเข้ามาในประเทศอังกฤษ (ซึ่งบางครั้ง ชาวอังกฤษสะกดว่า genever หรือ เจนนีเวอร์) มันได้พัฒนากลายมาเป็น gin หรือ จิน ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

ในขณะที่เครื่องดื่มแนว G&T(จิน และโทนิค) เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นทั่วโลก โดยมีชาวอังกฤษเป็นผู้จุดกระแส ชาวเบลเยี่ยม และชาวดัตช์ ยังคงเดินหน้าผลิตเจนนีเวอร์(jenever)ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มันกลายเป็นเครื่องดื่มที่อยู่รอดจากกฎหมายต่อต้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆมาได้จนถึงทุกวันนี้ (กระแสนิยมเจนนีเวอร์พีคสุดในประเทศเบลเยี่ยมในช่วงศตวรรษที่ 19) และที่พิเศษไปกว่านั้น เนื่องจากมันมีประวัติที่เก่าแก่และยาวนาน จึงทำให้สหภาพยุโรปได้ออกกฎเพื่อกำหนดพื้นที่ควบคุมการผลิตเจนนีเวอร์ขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยม ในขณะที่พื้นที่อื่นๆประกอบไปด้วย ประเทศเนเธอแลนด์, พื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน และพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส

เจนนีเวอร์เป็นเครื่องดื่มที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานของเหล้าจิน, วอดก้า และวิสกี้ โดยเจนนีเวอร์สูตรดั้งเดิมยังมีแร่ธาตุ และมอลต์ชนิดต่างๆเป็นส่วนประกอบอีกด้วยdako_a168_kenjeproduct_hasseltsejenever_app

โดยทั่วไปแล้ว เจนนีเวอร์ ประกอบไปด้วยแอลกอฮอล์อย่างต่ำ 30% ในปัจจุบัน มีผู้ผลิตที่เป็นเบลเยี่ยม และชาวดัตช์จำนวนมากหันมาผลิตเจนนีเวอร์ผลไม้ และแบบครีม ซึ่งมักมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ประมาณ 20%-30% โดยทั่วไปมีรสชาติค่อนข้างหวาน

วิธีการรับประทานเจนนีเวอร์ มักทานเย็นๆ เสิร์ฟในแก้วเล็กๆ หรือที่เราเรียกว่าเป็นช็อต บางสถานที่จะเสิร์ฟในแก้วแชมเปญทรงทิวลิปขนาด 5 เซนติลิตร โดยจะรินเจนนีเวอร์ให้เต็มล้นถึงขอบแก้ว ส่วนรสชาติของเจนนีเวอร์ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด บางชนิดรสชาติคล้ายวอดก้า บางชนิดรสชาติคล้ายวิสกี้

713786-03ab4c8dd05c2e200885c146624c4339

แต่ก่อน เจนนีเวอร์มักดื่มกันในเฉพาะประเทศเบลเยี่ยม และเนเธอแลนด์เท่านั้น  แต่เนื่องจากในปัจจุบัน นักดื่มทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจดื่มเครื่องดื่มสปิริตที่มีวิธีการผลิตแบบพื้นบ้านมากขึ้น เจนนีเวอร์จึงเริ่มกลายมาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่แน่มันอาจกำลังเข้ามาเป็นที่รู้จักมากขึ้นในบ้านเราเร็วๆนี้ก็ได้ แต่ถ้ายังมาไม่ถึง ผมว่ามันก็น่าจะเป็นข้ออ้างที่ดีที่เราจะตัดสินใจเดินทางไปท่องยุโรปกันนะครับ